บทความ

เบียร์เป็นเหตุทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้

เบียร์เป็นเหตุทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้ ข้อความนี้ก็ทำให้คนที่นำป้ายไปติดมีความผิด ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่องมีอยู่ว่า มีร้านค้าแห่งหนึ่งจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีป้ายไวนิลที่มีข้อความว่า “เบียร์เป็นเหตุทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้” ซึ่งตรงกลางมีสัญลักษณ์ของเบียร์ยี่ห้อหนึ่งพร้อมกับชื่อของเบียร์ยี่ห้อนั้น แขวนอยู่ที่หน้าร้าน แผ่นป้ายไวนิล ที่มีข้อความว่า “เบียร์เป็นเหตุทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้” อันมีลักษณะเป็นข้อความคำเตือนผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์ให้ทราบถึงโทษว่าเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทและก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ แต่ด้านล่าง ของแผ่นป้ายดังกล่าวมีสัญลักษณ์ของเบียร์ยี่ห้อหนึ่งซึ่งเป็นรูปเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทผู้ผลิตเบียร์ เป็นการสื่อสารหรือทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเภทเบียร์ยี่ห้อนั้นเท่ากับเป็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์ เมื่อเจ้าของร้าน ยินยอมให้ปิดแผ่นป้ายโฆษณาดังกล่าวไว้ที่หน้า

เมื่อผู้รับประกันภัยจากรถจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น

                  เคยไหม   เวลาเราขับรถแล้วไปชนกับรถจักรยานยนต์ แล้วรถจักรยานยนต์คันนั้นมีประกันภัย   คนขับรถจักรยานยนต์ก็ไม่ว่าอะไรเราแต่ไปเรียกค่าเสียหายกับผู้รับประกันภัยรถจักรยานยนต์คันนั้น                  เมื่อผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นซึ่งเป็นค่ารักษาพยาบาลให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์ ไปแล้ว                 เช่นนี้  เราอย่าไปคิดว่าเมื่อผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายแล้วเราไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ ค่าเสียหายในกรณีนี้อีก  เพราะคิดว่า  บริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายให้แก่คนขับรถจักรยานยนต์ ไปแล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายอีก              ในกรณีเช่นนี้  มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้รับประกันภัยในฐานะผู้รับประกันภัยใช้สิทธิไล่เบี้ยเอา แก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้กระทำให้เกิดความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ​ พ.ศ. 2535 มาตรา 31 อันเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ซึ่งบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ​ ผู้รับประกัน ภัยมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ผู้รับประกันภัย